ภาษาญี่ปุ่นเมื่อสิบปีก่อนดิฉันมีโอกาสดีได้ไปเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศญี่ปุ่น ภาษานี้เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาไทยดิฉันตอบไม่ได้ว่าภาษาใดยากกว่ากัน โดยประวัติศาสตร์แล้ว ภาษาญี่ปุ่น กำเนิดจากกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่อพยบออกมาจากจีนแล้วไปหาดินแดนตั้งรกรากใหม่ก็พอดีไปเจอบริเวณเกาะญี่ปุ่นนี่เองภาษาญี่ปุ่นประกอบไปด้วยตัวพยัญชนะ 3 ชนิด คือ ฮิรางานะ คะตาคานะ คันจิ พยัญชนะจำพวก ฮิรางานะ และคะตาคานะ มีฐานวรรคต่าง ๆ เช่น วรรค อะ (あ) , วรรค คะ(か) , วรรค นะ(な) , วรรค ตะ(た) , วรรค สะ(さ) , วรรค ฮะ(は) , วรรค ปะ(ぱ) , วรรค ละ(ら) เป็นต้น คำต่างๆ ที่เขียนโดยอักษรฮิรางานะ จะค่อนข้างยาว เช่นคำว่า ยางลบ อ่านว่า เคชิโกมุ (けしごむ) , อิจฉา อ่านว่า อุรายามะชี่ (うらやましい) , ท้อง อ่านว่า โอนากะ (おなか) , สวัสดีตอนเช้า อ่านว่า โอไฮโยโกะไซมัส (おはいよこさいます) และขอบคุณ อ่านว่า อะรอกาโต้โกะไซมัส (ありがとうごさいます)ในคำที่มีความหมายเหมือนกันนั้นภาษาญี่ปุ่นจะมีคำอีกประเภทหนึ่งคือ คันจิ ที่ทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ยากแสนสาหัส อักษรคันจิเป็นอักษรภาพ เวลาจำต้องจำแบบรูปภาพ เช่นป่า ประกอบไปด้วยรูปต้นไม้ 3 ต้น (森)เรียงกันอ่านว่า โมริ แม่น้ำ อ่านว่า คาวะ มีลักษณะเหมือนรูปภาพ เป็นเส้นลากจากบนลงล่างยาว ๆ 3 เส้น (川) หรือหนังสือทำมาจากกระดาษ มีลักษณะตัวอักษรคล้ายต้นไม้ แต่มีขีดที่โคนต้น อ่านว่า โฮ่ง (本) และตัวคันจิมีเสียงอ่านทั้งเสียง “อง” และเสียง “คุน” หรือบางทีตัวอักษรคันจิ 1 ตัว อาจจะอ่านได้มากกว่า 2 เสียงก็เป็นไปได้เช่น สูง อ่านว่า โก (高) และ ทะใกล้ (高い) , พระจันทร์ อ่านได้ทั้ง เก็ดซึ กัสซึ ซึกิ (月) , อะไร อ่านได้ทั้ง นานี่ นั่น (何) , วัน อ่านได้ทั้ง บิ นิจิ (日) เป็นต้น สิ่งที่ยากสำหรับอักษรคันจิอีกอย่างคือเราต้องจำเป็นคำ ๆ ไปอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ อักษรคันจิมีจำนวนขีดตั้งแต่ 1 เช่น อิจิ (一) ที่แปลว่า หนึ่ง , 2 ขีด เช่น นิ (二)ที่แปลว่า สอง , 3 ขีด เช่น ซัง(三) ที่แปลว่า สาม , 4 ขีด เช่น โย้ง (四)ที่แปลว่า สี่ไปจนถึง 10 กว่าขีดเช่น เช่น กินอ่านว่า ทะเบรุ (食べる)มี 9 ขีด , นอนอ่านว่า เนรุ (寝る)มี 13ขีด , ขึ้นอ่านว่าโนรุ (乗る) มี 9 ขีด ,ไปอ่านว่า อิคุ (行く) มี 6 ขีดเป็นต้น อักษรคันจิมักจะมีเสียงอ่านที่ซ้ำกัน เช่น เสียงอ่านว่า คิ มีอักษรต่างๆ ที่อ่านแบบนี้แต่เขียนแตกต่างกัน (気 แปลว่ารู้สึก , 来 แปลว่ามา , 機 แปลว่าเครื่องจักร , 木 แปลว่าต้นไม้ , 期 แปลว่าระยะเวลา ) เสียงที่อ่านว่า ทะ มีอักษรที่อ่านเหมือนกันแต่เขียนและมีความหมายต่างกันดังนี้ (他 แปลว่าอื่น ๆ , 田 แปลว่าที่นา , 多 แปลว่ามาก ) เห็นหรือยังคะว่าอักษรคันจิมีความยากขนาดไหนแต่สิ่งหนึ่งที่เป็นทริกสำหรับการเรียนอักษรคันจิคือ รากศัพท์ค่ะ ถ้าเราจำรูปภาพได้แล้ว ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีความหมายที่แน่นอน จนเราสามารถเดาคำศัพท์ที่มาจากรากศัพท์คำนั้น ๆ ได้เลย เช่น คำว่า กักกึ (学) แปลว่านักเรียน อ่านว่า กักเซ (学生) , แปลว่าโรงเรียนอ่านว่า กักโค (学校) , แปลว่าวิทยาศาสตร์อ่านว่า คะกักกึ (科学)ส่วนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศคนญี่ปุ่นมักเขียนด้วยอักษรที่มีชื่อว่า คะตาคานะ เข่น คำว่า โต๊ะ ภาษาอังกฤษอ่านว่า Table ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า テブル(เทบูรุ) , คำว่า ผู้จัดการ ภาษาอังกฤษอ่านว่า manager ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า メネジAuthor: Wraporn Santikunaporn