กรมการค้ากางแผนปี 66 ขับเคลื่อนนโยบายสําคัญ ดันมูลค่าการค้าไทย

กรมการค้ากางแผนปี 66 ขับเคลื่อนนโยบายสําคัญ ดันมูลค่าการค้าไทย

       กรมการค้าต่างประเทศเผยแผนงานปี 66 เร่งผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญ ลุยตลาดต่างประเทศ คุมเข้มมาตรฐานสินค้า ผลักดันการค้าชายแดน ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย มุ่งพัฒนางานบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง สร้างแต้มต่อทางการค้า

       นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การดำเนินงานของกรมฯ ในปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งกรมฯ ได้ดำเนินงานเชิงรุกและมุ่งมั่นในการส่งเสริมและผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญการค้าชายแดน การปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า รวมถึงการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า อีกทั้งยังได้พัฒนาระบบงานให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วยซึ่งในปี 2566 กรมฯ ยังเดินหน้าขับเคลื่อนงานสำคัญต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสถานการณ์ทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1. การผลักดันสินค้าเกษตรสำคัญ

       1) สินค้าข้าว กรมฯ เร่งผลักดันและจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดข้าวไทยตามนโยบาย “รัฐหนุนเอกชนนำ” ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์เพื่อรักษาและขยายตลาดในกลุ่มลูกค้าเดิมและแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ โดยในปี 2566 กรมฯ มีแผนจัดงานประชุมข้าวนานาชาติ (Thailand Rice Convention 2023) ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการค้าข้าวโลกเดินทางมาประชุมสัมมนาวิชาการและเจรจาธุรกิจ อีกทั้งยังมีแผนการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ข้าวไทย โดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ อาทิงาน BIOFACH  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี งาน GULFFOOD 2023  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งาน FOODEX 2023  ประเทศญี่ปุ่น งาน China - ASEAN Expo ครั้งที่ 20 (CAEXPO) 2023  สาธารณรัฐประชาชนจีน และงานFine Food 2023  ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

         2) สินค้ามันสำปะหลัง กรมฯ มีแผนขยายตลาดสินค้ามันสำปะหลังในปี 2565/66 ได้แก่ (1) ตลาดเดิม : จีน (2) ตลาดเก่า : ยุโรป และ (3) ตลาดใหม่ : ตุรกี นิวซีแลนด์ อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และซาอุดีอาระเบีย ผ่านกิจกรรมในรูปแบบ Online และ Onsite รวมถึงการเชิญกลุ่มผู้นำเข้า เข้าร่วมงานมันสำปะหลังโลก ปี 2566 (World Tapioca Conference 2023)  จังหวัดนครราชสีมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

       นอกจากนี้ กรมฯ ยังเร่งผลักดันการส่งออกพลาสติกชีวภาพโดยตั้งเป้าหมายการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากมันสำปะหลังไปยังต่างประเทศมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทในปี 2557 ซึ่งมีสินค้านำร่อง คือ เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช (Thermoplastic starch: TPS) และผลักดันการส่งออกแป้งฟลาวมันสำปะหลังปลอดกลูเตนไปยังตลาดที่มีศักยภาพ อาทิ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

2. การคุมเข้มมาตรฐานสินค้า กรมฯ มุ่งกำกับดูแลมาตรฐานสินค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่ไทยส่งออก นำเข้า เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า โดยจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับดูแลมาตรฐานสินค้าส่งออกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลทั้ง 9 ชนิด (ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำ แป้งมันสำปะหลัง ปุย นุ่น ปลาป่น และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและกำกับดูแลมาตรฐานสินค้านำเข้า ซึ่งสินค้าสำคัญที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล คือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่นำเข้าตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา และไทย - สปป.ลาว

3. การค้าชายแดน กระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายที่สำคัญในการผลักดันเปิดด่านการค้าไทย - ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อกระตุ้นและเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนไทย โดยมีแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงต้นปี 2566 จะจัดคณะเจรจาผลักดันเปิดด่านชายแดนไทย-สปป.ลาว ที่ยังไม่เปิดทำการ และอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าชายแดนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าอย่างเป็นรูปธรรม และกรมฯ ยังมีแผนดำเนินงานโครงการขยายการค้าการลงทุนชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการจัดมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย (ในช่วงเดือน .. - มี.. 66) มหกรรมการค้าชายแดน จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ด้านลาว (จังหวัดเชียงราย หรือตาก หรือหนองคาย หรือมุกดาหาร หรือนครพนมและด้านเมียนมา/ด้านกัมพูชา (จังหวัดกาญจนบุรี หรือสระแก้ว หรือตราด)

       นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศข้อมูลการค้าและการลงทุน (Commerce Intelligence Centre [Border and Transit Trade and SEZ]) หรือระบบ CIC BTS ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและระบบงานสำคัญของกรมฯได้แก่ ข้อมูลสถิติการค้าชายแดน – ผ่านแดน และการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลการออกหนังสือสำคัญการนำเข้า -  ส่งออกสินค้า และข้อมูลมาตรการ NTMs ของประเทศคู่ค้าที่มีผลกระทบต่อสินค้าไทย ซึ่งกรมฯ มีแผนที่จะเปิดให้บุคคลภายนอกสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ภายในต้นปี 2566

4. การอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการและการพัฒนาระบบการให้บริการของกรมฯ กรมฯ ได้นำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ในงานบริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก - นำเข้าสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ โดยกรมฯ ได้ดำเนินโครงการ DFT SMART Certificate of Origin (C/O) เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ให้ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์หนังสือรับรองฯ ได้ด้วยตนเอง (Self – Printing) ซึ่งเป็นการให้บริการออกหนังสือรับรองฯ แบบ No Visit คาดว่าจะพร้อมให้บริการได้ในช่วงกลางปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้กว่า 480 ล้านบาทต่อปี และจะดำเนินโครงการฯ ต่อเนื่องในระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาต่อยอดโดยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: Al) และหลักการบริหารความเสี่ยง(Risk - Based Management on Profile) เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบฯ เพื่อรองรับแบบหนังสือรับรองฯ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Form C/O) สำหรับทุกความตกลงทางการค้า คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนทางการค้าให้ผู้ประกอบการได้ปีละ 1,330 ล้านบาท

       อีกทั้ง กรมฯ ยังได้พัฒนาระบบการให้บริการการขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกสินค้า การอนุญาตผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (บริษัท Survey) และผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (Surveyor) รวมถึงการต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถชำระเงินและพิมพ์ใบทะเบียนและใบอนุญาตในรูปแบบที่ผู้ขอรับบริการไม่ต้องเดินทางมาติดต่อเจ้าหน้าที่ (No Visit) และจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้า (มส. 24) และการรายงานการส่งออก (มส. 25) กับกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ขอรับบริการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมา คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2566

5. ความคืบหน้าการปรับปรุงกฎหมายใหม่ๆ ของกรมฯ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น กรมฯ จึงได้ปรับปรุงและทบทวนกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ อาทิพระราชบัญญัติการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง .. 2562 (... TCWMD) พระราชบัญญัติว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) .. 2562 (... AD – CVD) เป็นต้น

6. การปกป้องและตอบโต้ทางการค้า

       1) การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) สินค้าที่ไทยจะหมดอายุการใช้มาตรการฯ ในปี 2566 และคาดว่าอุตสาหกรรมภายในอาจจะยื่นขอให้เปิดทบทวนเพื่อต่ออายุมาตรการฯ มี จำนวน 2 กรณี ได้แก่ (1) สินค้ายางในรถจักรยานยนต์จากจีน จะหมดอายุมาตรการในวันที่ 29 .. 66 (2) สินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจือโบรอนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนจากจีน จะหมดอายุมาตรการในวันที่ 12 .. 66 ที่ผ่านมาในปี 2565 ไทยมีการดำเนินการใช้มาตรการ AD จำนวน 13 กรณี (จากทั้งหมด 24 กรณีส่วนใหญ่เป็นสินค้ากลุ่มเหล็ก ในส่วนกรณีที่ไทยถูกประเทศคู่ค้าใช้มาตรการ (1) AD 71 กรณี (2) CVD 5 กรณี (3) SG 14 กรณี

       2) มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-circumvention: AC) กรมฯในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการไต่สวนและการแก้ต่างด้านมาตรการ AC ได้ดำเนินการในการปกป้องและช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยทุกรายในการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตน โดยได้ดำเนินการ เช่น ติดตามและแจ้งข่าวสารให้ผู้ประกอบการไทยทุกรายทราบอย่างต่อเนื่อง จัดทำหนังสือคัดค้านเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทย รวมไปถึงให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการไทยทุกรายในการดำเนินการแก้ต่างอย่างเต็มที่

 7. การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมฯ เร่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงต่างๆ อาทิ FTA และ RCEP เป็นต้น เพื่อสร้างแต้มต่อทางการค้า ลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย

       ในปี 2565 (มกราคม – ตุลาคมผู้ส่งออกไทยใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง FTA เป็นมูลค่า 71,882.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ RCEP คิดเป็นมูลค่า 819.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

       “ท้ายนี้ กรมฯ พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนงานด้านการค้าต่างประเทศในทุกมิติ และพร้อมจะเป็น “พี่เลี้ยง” ที่จะคอยดูแลอยู่เคียงข้างผู้ประกอบการไทย และอำนวยความสะดวกในด้านการค้าต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถฝ่าฟันมรสุมทางการค้าได้อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในการให้ความรู้เรื่องกฎระเบียบ และมาตรการทางการค้าของประเทศผู้นำเข้า เพื่อให้ผู้ส่งออกไทยสามารถส่งออกสินค้าได้เต็มศักยภาพ รวมถึงมีการจัดหลักสูตรและ Workshop ในการอบรมเชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการไทย” นายรณรงค์ กล่าว

Department of Foreign  Trade Unveils 2023 Plan to Drive Key Policies and Boost Thai Trade Value


       Department of Foreign  Trade (DFT) revealed its 2023 plan, focusing on promoting key agricultural products and penetrating international markets. The DFT also aims to strictly control product standards, facilitate cross-border trade, modernize laws, and improve services to benefit business operators. It also aims to encourage businesses to take advantage of trade agreements and create leverage in trading.

       Mr. Ronnarong Phoolpipat, the Director General of the Department of Foreign  Trade, disclosed that the DFT’s efforts over the past year have been very successful. The DFT has been proactive and committed in promoting key agricultural products, facilitating cross-border trade, protecting and preserving trade benefits, as well as solving trade barriers. It has also developed electronic service systems to facilitate and reduce costs for business operators. For the year 2023, the DFT will continuously drive various key tasks to adapt to the rapidly changing trade environment, with the following plans:

1. Promoting Key Agricultural Products

       1.1 Rice: The DFT is accelerating the promotion and organizing market-boosting activities for Thai rice in line with the ‘State Supports, Private Sector Leads’ policy by the Deputy Prime Minister and Minister of Commerce (Mr. Jurin Laksanawisit). The aim is to maintain and expand the market among existing customers and seek new customer groups. For the year 2023, the DFT plans to host the Thailand Rice Convention 2023, which is a major conference for stakeholders in the global rice trade. It will feature academic seminars and business negotiations. The DFT also has plans to promote and publicize Thai rice by participating in international exhibitions such as BIOFACH in Germany, GULFFOOD 2023 in the United Arab Emirates, FOODEX 2023 in Japan, the 20th China - ASEAN Expo (CAEXPO) 2023 in China, and Fine Food 2023 in Australia, among others.

       2) Cassava Products: The DFT has plans to expand the market for cassava products in the fiscal year 2022/2023 to (1) existing markets like China, (2) old markets like Europe, and (3) new markets such as Turkey, New Zealand, India, South Korea, Japan, Indonesia, the Philippines, and Saudi Arabia. This will be done through both online and onsite activities, including inviting importers to participate in the World Tapioca Conference 2023 in Nakhon Ratchasima in February 2023.

2. Strict Standards Control: The DFT aims to supervise and ensure product standards so that both exported and imported goods meet the criteria set by the Ministry of Commerce. This is to build confidence with trade partners. Officers are assigned to continuously inspect the standards of products in the field. They oversee nine types of exported products under their supervision (Thai jasmine rice, corn, sorghum, mung beans, black gram, tapioca starch, fishmeal, pulp, and cassava products). They also control the standards of imported goods, with a focus on cassava products imported along the Thailand-Cambodia and Thailand-Laos borders.

3. Cross-Border Trade: The Ministry of Commerce has a key policy to promote and open trade borders between Thailand and neighboring countries to stimulate and increase the value of Thai cross-border trade. Continuous action plans are in place. In early 2023, a delegation will be arranged to push for the opening of yet-to-be-opened Thai-Laos border checkpoints, and facilitate cross-border transport to expand trade systematically. The DFT also has plans for the projects to expand cross-border trade and special economic zone development. Trade fairs will be organized for Thai-Malaysian cross-border trade (between January and March 2023) and at special economic zones on the Laos side (Chiang Rai, Tak, Nong Khai, Mukdahan, Nakhon Phanom provinces), and on the Myanmar/Cambodian side (Kanchanaburi, Sa Kaeo, Trat provinces).

       Furthermore, the DFT has also established the Commerce Intelligence Centre [Border and Transit Trade and SEZ], also known as the CIC BTS system. This center aggregates key departmental data including border and transit trade statistics, international trade information, import-export documentation, and Non-Tariff Measures (NTMs) from trading partners that affect Thai goods. The DFT plans to make this information available to external parties by early 2023.

4. The DFT has introduced digital innovations in the service of issuing key export-import documents to facilitate business operators. The DFT has initiated the DFT SMART Certificate of Origin (C/O) project to improve the system for issuing origin certificates, allowing businesses to print the certificates themselves (Self-Printing). This no-visit service is expected to be available by mid-2023 and aims to reduce costs for businesses by more than 480 million Baht per year. The DFT plans to continue the project into its second phase, incorporating technologies such as Artificial Intelligence and Risk-Based Management on Profile. The DFT is also developing the system to support electronic forms of origin certificates (e-Form C/O) for all trade agreements, expecting to reduce trade costs for businesses by about 1,330 million Baht annually.

       Additionally, the DFT has also developed electronic service systems for registering exporters, licensing survey companies and surveyors for inspecting product standards, as well as for renewing licenses and issuing product standard certificates. These systems allow users to make payments and print out registration and licenses without having to visit the office (No Visit). Automatic data linkage for standard product certificates (Form 24) and export reports (Form 25) will also be established with the Customs Department and relevant agencies. These changes are aimed to make the process more convenient, faster, and cost-effective for users. It is expected that these developments will be completed by the end of 2023.

6. Protection and Trade Retaliation

       1) The use of Anti-Dumping (AD) retaliatory measures for products in Thailand will expire in 2023, and it is expected that the domestic industry may request a review to extend these measures. There are 2 cases: (1) Motorcycle tires from China will expire on November 29, 2023 (2) Hot-rolled steel sheets, both rolled and unrolled, from China will expire on December 12, 2023.

      In 2025, Thailand had implemented 13 AD cases (out of a total of 24 cases), mainly on steel products. In terms of cases where Thailand has been subjected to trade measures, there are (1) 71 AD cases, (2) 5 CVD cases, and (3) 14 SG cases.

       2) Anti-circumvention : AC, the DFT, as the agency responsible for investigations and remedial AC measures, has acted to protect and assist all Thai businesses in maintaining their rights and benefits. Actions include continuously updating and informing all Thai businesses, preparing opposition documents to protect the interests of Thai businesses, as well as providing advice to all Thai businesses on how to take full remedial action.

7. Trade Benefit Utilization: The DFT is pushing for and supporting Thai businesses to use trade benefits under various agreements such as FTA and RCEP to gain trade advantages and reduce costs for Thai businesses. 

              In the year 2022 (January - October), Thai exporters used trade benefits under the FTA amounting to 71,882.18 million US dollars and under RCEP amounting to 819.05 million US dollars.

       “Finally, the department is ready to move forward in promoting foreign trade in all aspects and is willing to be a ‘mentor’ who will take care of, stand by Thai businesses, and facilitate foreign trade to help businesses overcome trade challenges robustly. This particularly involves providing knowledge on regulations and trade measures of importing countries, so that Thai exporters can export products to their full potential. There are also courses and workshops for deep training provided to Thai businesses,” said Mr. Ronnarong.

ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ, แปลโดย Keithkete

Information from the Department of Foreign Trade, translated by Keithkete

อัปโหลดเอกสารเพื่อประเมินราคา

* อัปโหลดไฟล์งาน รองรับได้ทั้ง jpg., .doc., .docx, .xls., .pdf, อื่นๆ