วัฒนธรรมในโรงเรียนของคนญี่ปุ่นเรื่องที่ดิฉันยังอยากจะเล่าสู่กันฟังจะยังไม่ได้เปลี่ยนหัวข้อ ขอเล่าต่อเกี่ยวกับระเบียบวินัยของชาวญี่ปุ่นค่ะ ครั้งหนึ่งดิฉันได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาและไปสร้างปฏิสัมพันธ์กับน้อง ๆ ชาวญี่ปุ่นที่ โรงเรียนระดับประถมชั้นต้นของประเทศญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ขอให้ทุกท่านลองติตามดูว่าโรงเรียนระดับปฐมของประเทศญี่ปุ่นกับบ้านเราแตกต่างกันอย่างไรโรงเรียนระดับประถมของประเทศญี่ปุ่นดิฉันสังเกตพบว่าจะมีขนาดไม่ค่อยใหญ่นัก ประเทศของเค้าเล็กค่ะไม่ว่าจะสถานที่จำนวนนักเรียนต่อชั้นเรียนก็ราว ๆ 30 คน นักเรียนจะใส่เสื้อผ้าตามสบาย เสื้อผ้าเหล่านั้นมักจะมีสีสันสดใสเป็นแบรนด์การ์ตูนญี่ปุ่น คิดตี้ สนู๊บปี๊ มินนี่มิคกี้เม้าท์ แทบจะก๊อปปี้กันออกมาเลยค่ะ เนี่ยแหละค่ะ การแต่งตัวแบบธรรมดาที่เสมอภาคกันของเด็กญี่ปุ่น ซึ่งทุกครอบครัวสามารถจัดหาเสื้อผ้าแบบนี้ให้กับลูกได้เหมือนกัน ความแตกต่างกันระหว่างชนชั้นมีน้อยมากและสิ่งที่นักเรียนขาดไม่ได้เลยคือเป้ ที่เอาไว้ใส่สำภาระต่าง ๆ เมื่อดิฉันเข้าไปในห้องเรียน หัวหน้าชั้นจะนำเด็ก ๆ ทุกคนยืนขึ้น และกล่าวสวัสดีว่า โอไฮโยโกะไซมัส สภาพการจัดโต๊ะเรียนก็แตกต่างกัน บางห้องจัดเป็นแบบกลุ่ม โต๊ะ 4 ตัวจะหันมาชนกัน บางห้องก็จัดที่นั่งธรรมดาเหมือนกับโรงเรียนในไทย และถ้าสมาชิกนักเรียนในห้องส่งเสียงดังหรือคุยกันจนต้องกำหลาบ ดิฉันเห็นว่าคุณครูเดินไปบอกที่ห้วหน้าห้องและเด็กที่เป็นหัวหน้าห้องคนนั้นก็ออกมาหน้าชั้นเรียน และกล่าวคำว่ามินน่าซัง ชิซูกะนิชิเตะคุดาไซด์ ซึ่งแปลว่า ทุกคน กรุณาเงียบ สมาชิกในชั้นก็ค่อย ๆ สงบเสียงลงเช่นเดียวกันกับตอนที่ทำงานกับบริษัทญี่ปุ่น ดิฉันสังเกตเห็นว่า ชาวญี่ปุ่นระดับ MD ก็จะสั่งเรื่องต่าง ๆ ลงมายังหัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่าย MD จะรับงานดูภาพรวม และโดยเฉพาะการพบปะลูกค้าหรือแขกที่มาเยียมเยียนบริษัท ส่วนคนญีปุ่นระดับผู้จัดการหรือหัวหน้าส่วนก็จะสั่งตรงลงมาที่ผู้ช่วยหรือผู้จัดการคนไทยโดยตรง เราจะไม่ค่อยพบคนญี่ปุ่นลงมาดิวกับสต๊าปคนไทย ดังนั้นจะเห็นคนญี่ปุ่นระดับผู้จัดการบางบริษัทนั่งอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์คอยตอบแต่อิเล็คโทรนิกเมลล์และไม่ค่อยจะพูดมาก และมักจะคุยกันเองในกลุ่มคนญีปุ่นด้วยกัน มันเป็นเรื่องของซีเนียริตี้และการปลูกฝังความมีวินัยค่ะขอตัดเข้ามาเรื่องมื้ออาหารกลางวันเลยนะคะ อาหารกลางวันของเด็กญี่ปุ่นจะประกอบไปด้วยอาหารครบ 5 หมู่และที่ขาดไม่ได้คือนมคนละขวด ทุกคนต้องรับประทานอาหารที่ตักมาให้หมดเก็บภาชนะเข้าที่และออกไปล้างปากล้างมือด้วยสบู่ที่ใส่ถุงผ้าตาข่ายที่แขวนไว้ ตอนแรก ดิฉันสังเกตเห็นแล้วยังงงเลย สบู่เขาใส่ไว้อย่างนี้หรือ ทำไมไม่ใส่กล่องล่ะ มันก็สะดวกดีไงคะที่ถู ๆ สบู่กับถุงผ้าตาข่ายเกิดฟองสบู่ง่ายดีไงคะ ดิฉันก็นึกในใจว่า ง่ายดี เหมือนกัน เด็กญี่ปุ่นไม่ได้เรียนอย่างเดียวนะคะ มีการฝึกความมียูนิตี้เป็นประจำสม่ำเสมอ จากการฝึกกิจกรรม เช่นดนตรี มีการเดินพาเลซกันตามวาระ มีการมารับฝังหรือมาประชุมร่วมกันหรือจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งโรงเรียนเป็นประจำสม่ำเสมอ และการแนะนำตัวของเด็กแต่ละคนก็คล้ายๆ กันค่ะ เช่น บอกชื่อ-สกุล และจบด้วยชั้นปีที่เรียน หรือ อายุเช่น (มัทซึโมโตะ มายุ คิวไส้เดซ แปลว่า ฉันชื่อมัทซึโมโตะ มายุ อายุ 9 ปีค่ะ) ซึ่งถ้าเราดูรายการเด็กของญี่ปุ่นจะเข้าใจเพราะจะเห็นตามดั่งที่ดิฉันสังเกตุเห็นท้ายสุดนี้พอดิฉันจะกลับจากโรงเรียนแห่งนี้นักเรียนทุกคนจะให้ความสำคัญกับตัวเราและบ้ายบายหรือกล่าวคำว่าซาโยนาระ มาตะเน้ มาต๊ะไอมาโช แปลว่า บ๊ายบาย ลาก่อนค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ หรือมีการร้องเพลงส่งคณะที่มาเยี่ยมค่ะ การเยี่ยมชมโรงเรียนประถมระดับต้นก็มีปะกินกะเกี่ยวกับความมีระเบียบวินัยเพียงเท่านี้ค่ะAuthor: Wraporn Santikunaporn